เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. อักโกสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คำที่พูดแม้นานได้ นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคระห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความ
สามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
10. เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง
ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดย
ชอบ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นสาราณียธรรมที่ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็น
ที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความสามัคคีกัน เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม 10 ประการนี้แล ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่
เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความสามัคคีกัน
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
ภัณฑนสูตรที่ 10 จบ
อักโกสวรรคที่ 5 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. วิวาทสูตร 2. ปฐมวิวาทมูลสูตร
3. ทุติยวิวาทมูลสูตร 4. กุสินารสูตร
5. ราชันเตปุรัปปเวสนสูตร 6. สักกสูตร
7. มหาลิสูตร 8. ปัพพชิตอภิณหสูตร
9. สรีรัฏฐธัมมสูตร 10. ภัณฑนสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :109 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. สจิตตวรรค 1. สจิตตสูตร
2. ทุติยปัณณาสก์
1. สจิตตวรรค
หมวดว่าด้วยวาระจิตของตน
1. สจิตตสูตร
ว่าด้วยผู้ฉลาดในวาระจิตของตน
[51] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุเป็นผู้ไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น
เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกว่า “เราทั้งหลายจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน” ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุมีการพิจารณาที่เป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายว่า “เราเป็นผู้
มีอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา)อยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีอภิชฌา เรา
เป็นผู้มีจิตพยาบาทอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีจิตไม่พยาบาท เราเป็นผู้มี
ถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)กลุ้มรุมอยู่โดยมากหรือหนอ หรือปราศจาก
ถีนมิทธะ เราเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือไม่มีจิตฟุ้งซ่าน เราเป็นผู้มี
ความสงสัยอยู่โดยมากหรือหนอ หรือข้ามพ้นความสงสัยแล้ว เราเป็นผู้มักโกรธอยู่
โดยมากหรือหนอ หรือไม่มักโกรธ เราเป็นผู้มีจิตเศร้าหมองอยู่โดยมากหรือหนอ
หรือมีจิตไม่เศร้าหมอง เราเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมี
กายไม่กระสับกระส่าย เราเป็นผู้เกียจคร้านอยู่โดยมากหรือหนอ หรือปรารภความเพียร
เราเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ หรือมีจิตตั้งมั่น” เปรียบเหมือนสตรี
หรือบุรุษที่ยังหนุ่มสาว มีปกติชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกเงาอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :110 }